สาขาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เป็นสาขาวิชาหนึ่งภายใต้กำกับของคณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ ซึ่งดำเนินงานตาม โดยมุ่งหวังที่จะขยายโอกาสทางการศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีสาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ในแถบภาคอีสานซึ่งพบว่ายังมีน้อยอยู่ และยังเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับนักศึกษาอื่น ๆ ที่สนใจอีกด้วย

สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยีทำการเปิดรับนักศึกษารุ่นแรกในปีการศึกษา 2549 ด้วยความพร้อมทั้งทางด้านบุคลากรและอุปกรณ์ที่ครบครัน เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ทางด้านสาขาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ทั้งทางด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ (4 ปี) และครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิตวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (4 ปี) สำหรับพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ทั้งด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ และบุคลากรที่จะไปเป็นครูสอนทางคอมพิวเตอร์ในอนาคต โดยทางสาขาฯ สอบวิชาที่ทันสมัยหลายวิชา เช่น สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์และการสื่อสารข้อมูล การประยุกต์ใช้งานไมโครโปรเซสเซอร์ การโปรแกรมระบบ ปัญญาประดิษฐ์ วิศวกรรมซอฟต์แวร์ การพัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์ ระบบการจัดการฐานข้อมูล และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการ ฯลฯ โดยมุ่งหวังให้บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา สามารถประกอบอาชีพในสาขาทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ได้ เช่นเป็นนักวิเคราะห์และพัฒนาระบบงาน วิศวกรคอมพิวเตอร์ วิศวกรระบบ โปรแกรมเมอร์ นักวิเคราะห์ข้อมูล ครูสอนทางคอมพิวเตอร์ และผู้บริหารระบบงานสารสนเทศในหน่วยงานต่าง ๆ ได้

การเรียนการสอนในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Architecture)
พื้นฐานสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ คณิตศาสตร์ของคอมพิวเตอร์ โครงสร้างและองค์ ประกอบหน่วยความจำ การเชื่อมต่อและการสื่อสาร ภาษาแอสเซมบลี อุปกรณ์ต่อเสริมองค์ประกอบและการออกแบบหน่วยประมวลผล ประสิทธิภาพและการปรับปรุง แบบจำลองระบบแบบกระจาย ปฏิบัติการสถาปัตยกรรมและองค์ประกอบคอมพิวเตอร์
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network)
ชุดโพรโทคอลทีซีพี/ไอพี การออกแบบเลขที่อยู่แบบไอพี โพรโทคอลหาเส้นทาง การเชื่อมโยงระหว่างเครือข่ายด้วยทีซีพี/ไอพี การจัดการเครือข่าย ความมั่นคงและความปลอดภัยของเครือข่าย เอ็มพีแอลเอส โปรแกรมประยุกต์ด้านเครือข่าย
ระบบฐานข้อมูล (Database System)
ลักษณะทั่วไปของระบบสารสนเทศ เทคนิคการเก็บข้อมูล การบริการข้อมูลและการค้นหาข้อมูล การจัดระบบแฟ้มข้อมูล เทคนิคการเข้าถึงข้อมูลแบบต่างๆ หลักการของระบบฐานข้อมูลและการจัดการฐานข้อมูล ฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น แบบเครือข่าย แบบเชิงสัมพันธ์ และแบบเชิงวัตถุ การประยุกต์ใช้งานระบบฐานข้อมูล
ภาษาโปรแกรม (Programming Language)
การแทนข้อมูลในคอมพิวเตอร์ การแก้ปัญหาด้วยขั้นตอนวิธี การออกแบบและพัฒนาโปรแกรม การเขียนโปรแกรมเบื้องต้นด้วยภาษาระดับสูง การฝึกปฏิบัติการโปรแกรมด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์
ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence)
การแทนความรู้ โครงสร้างความจำ การหาเหตุผล การหาเหตุผลแบบน่าจะเป็นและเทคนิคการค้นหา เกมส์ การวางแผน การเรียนรู้ การประมวลผลภาษาธรรมชาติ ทัศนศาสตร์คอมพิวเตอร์ ระบบผู้เชี่ยวชาญ
โครงสร้างข้อมูลและอัลกอริธึม (Data Structure and Algorithms)
กแนวคิดเกี่ยวกับโครงสร้างข้อมูล การวิเคราะห์อัลกอริทึม การหาประสิทธิภาพของอัลกอริทึม โครงสร้างข้อมูลแบบแถวลำดับ กองซ้อน แถวคอย รายการโยง การเรียกซ้ำ กราฟ และต้นไม้ เทคนิคการเรียงลำดับและการค้นหาข้อมูลแบบต่างๆ การหาเลขที่อยู่แบบแฮช การวิเคราะห์โครงสร้างข้อมูล การประยุกต์ใช้อัลกอริทึมสำหรับการแก้ปัญหาแบบต่างๆ
การทำเหมืองข้อมูล (Data Mining)
แนวคิดของการค้นพบองค์ความรู้ในฐาน ข้อมูลและการทำเหมืองข้อมูล เทคนิคก่อนการประมวลผลข้อมูล พื้นฐานของการทำเหมืองข้อมูลและแนวคิดเชิงพรรณนา อัลกอริธึมการสร้างตัวแบบเพื่อการทำนาย การค้นพบความสัมพันธ์ในการทำเหมืองข้อมูล การจัดกลุ่มข้อมูล เทคนิคการประเมินตัวแบบ การเรียนรู้จากตัวแบบที่หลากหลาย และกรณีศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการทำเหมืองข้อมูลในปัจจุบัน
อินเทอร์เน็ตของทุกสรรพสิ่ง (Internet of things)
ความรู้พื้นฐานของอินเตอร์เน็ตและการสื่อสารระหว่างสรรพสิ่ง (Internet of Things : IoT) การเขียนโปรแกรมของไมโครคอนโทรลเลอร์เบื้องต้น การเชื่อมต่ออุปกรณ์ตรวจจับร่วมกับตัวประมวลผล การสร้างเครือข่ายของอุปกรณ์ IoT การวิเคราะห์ข้อมูลและควบคุมอุปกรณ์ IoT ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต รวมถึงการประยุกต์ใช้งานในด้านต่างๆ เช่น ด้านการเกษตร ด้านการท่องเที่ยว เป็นต้น